วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คดีปาราชิก ศาลสงฆ์ไม่รับคำกล่าวหา


คดีปาราชิก ศาลสงฆ์ไม่รับคำกล่าวหา


เพราะ ผู้ร้องทำไม่ถูกขั้นตอน





เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2559  มส. ได้แถลงต่อสื่อมวลชน 
ว่าพระธัมมชโยไม่อาบัติปราชิก ศาลสงฆ์ไม่รับคำกล่าวหา 
เพราะผู้ร้องทำไม่ถูกขั้นตอนนั้น  อีกทั้งพระลิขิตฉบับสำเนา
ไม่มีผลทางกฎหมาย
 กรณีนี้ มส. และสื่อมาลชน ต่างก็รู้ตรงกันว่า 
ไม่มีใครเห็นพระลิขิตที่เป็นต้นฉบับ 


แม้กระนั้น มส.ก็ยังปฏิบัติตาม
โดยมีมติให้ พระพรหมโมลี 
สอบนิคกรรมพระธัมมชโย 
สรุปว่าไม่ปรับอาบัติเพราะผู้ร้องคนแรก
ขาดคุณสมบัติ แล้วเขาก็ถอนคำร้องไปเอง

แต่คนที่สองไม่ถอน ต่อมาพระพรหมโมลีถูกปลด 
แล้วตั้งผู้อื่นมาสอบนิคหกรรมต่อ 
นั่นหมายความว่า ศาลสงฆ์ยังรับคำร้อง
ของผู้ร้องคนที่สองเอาไว้พิจารณาข้อหาปราชิก

แต่ระหว่างนั้นคดีความที่ดินเข้ามา 
ตามหลักของศาลสงฆ์ ต้องรอให้ผ่านศาลอาญาก่อน 
คือรอผลคดีทางโลกให้จบสิ้น แล้วค่อยพิจารณาอาบัติต่อไป

เมื่อข้อหาที่ดินในกระบวนการศาลอาญา
เสร็จสิ้นในปี 2549 อัยการถอนฟ้อง
 เพราะเห็นว่า ไม่ได้มีเจตนา ไม่เป็นอาบัติปาราชิก
 เพราะไม่ได้มีเจตนาที่จะยักยอกทรัพย์ 
แถมยังบริจาคที่ดินที่ได้รับถวายเป็นการส่วนตัว 
มอบให้แก่วัดด้วย  ไม่ใช่การคืน
เพราะการคืนจะต้องคืนให้เจ้าทรัพย์ 
แต่กรณนี้เจ้าทรัพย์คือผู้ที่ถวาย



มาถึงตรงนี้ลองไปอ่านบทวิเคราะห์ของ  
พม.ถาวร นิยตชโย ถึงการพิจารณาของ 
มส. ว่าพระธัมมชโย ท่านไม่ต้องอาบัติปราชิกนั้น 
เพราะอะไร? 
ท่านแจกแจงถึงความสมเหตุสมผล
ให้เข้าใจกันง่ายๆ คะว่า

การเซ็นชื่อรับมอบเป็นเจ้าของที่ดิน
จำเป็นต้องเซนต์ในฐานะ ผู้มีอำนาจ
และท่านเป็นเจ้าอาวาส ถือเป็นเจ้าพนักงาน
ตามกฎหมายในเวลานั้น ต้องเซ็นชื่อในนาม นิติบุคคล

 การจะให้ที่ดินเป็นของวัด
ว่ากันตามตรรกะจริงๆ ไม่สามารถทำได้
เพราะผู้มีอำนาจในวัด คือ เจ้าอาวาส 
 ตามกฎหมายหากบอกว่า
เจ้าอาวาสไม่มีอำนาจถือครองที่ดินหรือ
ไม่มีอำนาจในการใส่ชื่อ เพื่อระบุความเป็นเจ้าของ
ถ้าเป็นเช่นนี้สมบัติวัด ก็มีโอกาสเสี่ยงไปอยู่ในมือ
ของบุคคลอื่นที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง


ย่อมจะเสี่ยงต่อการยักยอกทรัพย์ยิ่งกว่าเดิมอีกหลายเท่า
ถ้าปล่อยไว้เช่นนั้น หน้าที่ดูแล ศาสนสถาน หรือ
ดูสมบัติวัดของเจ้าอาวาสรูปนั้น
ถือว่าบกพร่อง ตามหลักกฎหมาย
ถ้าเจ้าอาวาส เซ็นรับที่ดินแทนวัดไม่ได้
ถ้าเช่นนั้นก็ต้องเป็นเสาโบสถ์
เดินมาเซ็นต์รับแทน
อย่างไรก็ตาม ผู้เซ็นรับมอบที่ดิน
ที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ย่อมต้องเป็นเจ้าอาวาส
เพราะถ้าทำอะไรผิด ต้องแบกรับความรับผิดชอบทั้งหมด
ผลที่ปรากฏในกรณี เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย 
 คือท่านก็ทำทุกอย่างถูกต้อง แต่ก็โดนฟ้องอยู่ดี


ปัญหาอื่นๆ ไม่นับรวมกับปัญหา ปาราชิก
ที่มหาเถรสมาคมดำเนินการในเวลานั้น
ต่างก็มีความคืบหน้าในการดำเนินการสอบสวน
จนกระทั่ง ปี 49 เป็นจุดสิ้นสุดการสอบข้อหาที่ดิน
ไม่มีโทษ และไม่ต้องปาราชิก
คำร้องในศาลสงฆ์ ของผู้ร้องอีกคนที่ค้างไว้ก่อนข้างต้น
ก็พลอยสิ้นสุดในศาลสงฆ์ชั้นต้น ไปโดยปริยาย

(นั่นเพราะศาลอาญา ไม่เอาผิดข้อหายักยอก = ไม่ต้องผิดปาราชิก)

จึงชวนสนทนากันอย่างผู้มีใจเป็นธรรม
การกล่าวหาปาราชิก สามารถกล่าวหาได้
แต่ต้องมีการสอบสวน และฟังคำตัดสินด้วยหลักพระวินัย
เพราะทุกความผิดที่เราเข้าใจว่าเขาผิด
เมื่อนำความผิดมูลฐานมาไต่สวนอย่างละเอียดแล้ว
ไม่เข้าข่ายกระทำความผิด

ก็ขอให้สังคม ยอมรับในส่วนที่ไม่ผิด
แต่หากจะเกลียดหรือไม่นิยมชมชอบในตัวผู้ถูกกล่าวหา
ข้อนี้ถือเป็นเป็นเหตุผลส่วนบุคคล

Cr พม.ถาวร นิยตชโย

ใครไม่อาจป้ายสีท้องฟ้าได้ ป้ายอย่างไร ฟ้าก็ไม่เคยเปลี่ยนสี
ต่อให้ป้ายต่อไปเป็นร้อยปี ก็ไม่อาจมีสี้เปื้อนท้องฟ้างาม

             ตะวันธรรม

1 ความคิดเห็น:

  1. ดูท่าจะไม่่ถูกใจบางคน.....เลยออกมาเรียกร้องไม่ เคารพคำตัดสินของ มส. และศาล

    ตอบลบ